คอนโด Freehold กับ Leasehold ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน

คอนโด Freehold กับ Leasehold ต่างกันอย่างไร

คอนโด Freehold กับ Leasehold ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน

คอนโด Freehold กับ Leasehold ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน ? คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่คนที่ต้องการหาซื้อคอนโดหลายคนสงสัยและกำลังทำความเข้าใจกับมันอยู่เพราะมาเวลาเลือกซื้อคอนโดโครงการต่างๆ ก็จะมีคำนี้ขึ้นมาในขอมูลโครงการอยู่เรื่อยๆ บางที่เป็น Freehold บางที่เป็น  Leasehold เดี๋ยววันนี้ผมจะมาอธิบายอย่างละเอียดให้ฟังครับ

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า Freehold กับ Leasehold ในทางอสังหาก่อนครับ

คอนโด Freehold กับ Leasehold ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน

ความหมายของ Freehold กับ Leasehold

  • Freehold คือ กรรมสิทธิ์ หมายถึง  สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล หรือพูดง่ายๆก็คือ ความเป็นเจ้าของนั่นเอง
  • Leasehold คือ สิทธิการเช่า หมายถึึง สิทธิการในการใช้ทรัพย์สินหนึ่ง ๆ จากการเช่ามาระยะเวลาหนึ่ง หายหมดระยะเวลาสัญญาสิทธินั้นก็จะกลับไปอยู่กับเจ้าของทรัพย์สินดังเดิม
โดยปกติแล้วเรามันจะพบคำว่า Freehold กับ Leasehold นี้ในอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม ซึ่งคอนโดมิเนียมที่มีอยู่ในตลาด 98% เป็นคอนโดมิเนียมแบบ Freehold และอีก 2% เป็นคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold ถ้าถามว่าทำไมคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold ถึงมีในตลาดน้อยกว่า Freehold นั่นก็เพราะความนิยมผู้บริโภคส่วนมากที่เมื่อต้องซื้อแล้วก็อยากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นด้วยดังนั้นผู้พัฒนาอังหาริมทรัพย์ก็เลยต้องทำคอนโดมิเนียมแบบ Freehold ขึ้นมาเพื่อตอบสนองกับความต้องการในตลาดนั้นเอง และหากถามต่อว่าแล้วทำไมผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ถึงยังมีการทำโครงการคอนโดมิเนียมที่เป็นแบบ Leasehold ขึ้นมาละ ? นั่นก็เป็นเพราะว่าในบางพื้นที่มีความต้องการขอผู้บริโภคแต่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถหาที่ดินที่เป็น Freehold เพื่อนำมาพัฒนาโครงการได้ จึงต้องเลือกแบบที่เป็น Leasehold แทน โซนพื้นที่ดังกล่าวส่วนมากแล้วจะเป็นพื้นที่ที่เจ้าของที่ดินไม่อยากขายหรือเป็นที่ดินที่ไม่สามารถขายได้แต่เปิดให้สามารถเช่าระยะยาวได้ เช่น ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้น โดยในประเทศไทยสามารถเข่าระยะยาวได้ 30 ปี แต่ก็อาจจะมีการขยายเวลาการเช่าได้ต่ออีก 30 ปี ได้ และเมื่อระยะเวลาในการเช่าหมดลงตัวกรรมสิทธิ์ก็จะกลับไปอยู่กับเจ้าของผู้ให้เช่าเหมือนเดิม 

ความคิดเห็น